คู่มือเตรียมตัวสัมภาษณ์สำหรับผู้สมัครงาน

คุณเคยสมัครงาน (หรือถูกทาบทามโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการสรรหาบุคคลากร) สำหรับโอกาสในการย้ายงานที่ยอดเยี่ยมไหม?

ขอแสดงความยินดีด้วย คุณได้ผ่านขั้นตอนแรกของกระบวนการคัดกรองเบื้องต้นสำหรับการสรรหาบุคลากรแล้ว และนั่นหมายความว่าคุณสมบัติ ทักษะ และประสบการณ์ของคุณตรงกับงานที่คุณสมัคร (หรือถูกทาบทาม).

ถึงเวลาเตรียมตัวในการสัมภาษณ์แล้ว นี่คือคติพจน์ของเรา: การสัมภาษณ์จะประสบความสำเร็จเมื่อมีการเตรียมตัว

ตรงกันข้ามกับสิ่งที่คนอาจคิด การสัมภาษณ์ไม่ใช่การที่เราจะสื่อสารแบบใดก็ได้ คุณกำลังแข่งขันกับผู้สมัครงานคนอื่นๆ ซึ่งอาจมีความสามารถที่โดดเด่นในหลายๆด้านสำหรับตำแหน่งงานที่คุณกำลังพิจารณาอยู่

หากคุณต้องการโดดเด่นจริงๆ คุณจำเป็นต้องทบทวนว่าอะไรทำให้คุณเป็นผู้สมัครที่ยอดเยี่ยมสำหรับองค์กร และสามารถสื่อสารจุดขายของความสามารถของคุณได้อย่างชัดเจนและกระชับ

แม้ว่าคุณจำเป็นต้องเป็นตัวของตัวเองและเป็นธรรมชาติให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การสัมภาษณ์ต้องได้รับการเตรียมการรอบด้านเพื่อเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ

ในบทความนี้ เราจะแจกแจงรายละเอียดทั้งหมดที่คุณควรคิดถึง ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการสัมภาษณ์

มาเริ่มกันเลย!

 ก่อนการสัมภาษณ์ 


คำถามแรกที่เรามักได้รับจากผู้สมัครคือ "เราควรใช้เวลานานแค่ไหนในการเตรียมตัวสำหรับการสัมภาษณ์?"

ผู้สมัครมีข้อจำกัดในด้านเวลาที่ต่างกัน แต่ในอุดมคติแล้ว หนึ่งสัปดาห์เป็นช่วงเวลาการเตรียมตัวล่วงหน้าที่เหมาะสมที่สุด ช่วงนี้จะเป็นช่วงเวลาที่ให้คุณรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท เตรียมคำตอบสัมภาษณ์ และ ฝึกซ้อมในส่วนที่จำเป็น

อย่าตื่นตระหนกถ้าคุณมีเวลาเพียงไม่กี่วันในการเตรียมตัว คุณเพียงแค่ต้องวางแผนและเตรียมตัวการสัมภาษณ์ให้มีประสิทธิภาพที่มากขึ้น ทางเราได้เตรียมรายการที่สำคัญและจำเป็นก่อนการเข้าสัมภาษณ์

ทำความเข้าใจคำอธิบายงาน  (job description) และ ข้อกำหนดของตำแหน่งที่จะสัมภาษณ์ต้องการ 

คุณสมัครงานตามคำอธิบายงานงานเพื่อที่จะได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท และ คุณควรเริ่มต้นด้วยการอ่านคำอธิบายงานอย่างละเอียดรอบคอบ โดยเฉพาะข้อมูลดังต่อไปนี้:

  • พันธกิจและความรับผิดชอบ: ทำความเข้าใจความคาดหวังของงาน รวมถึงความรับผิดชอบหลักของงานที่คุณสมัครไป คุณจะสามารถอนุมานได้ว่าอะไรคือ KPI หลักของงานโดยดูจากข้อมูลในส่วนเหล่านี้ 
  • ทักษะและข้อกำหนดของงาน: รีวิวทักษะที่ตำแหน่งงานนั้นๆต้องการเพื่อที่จะดูว่าคุณเหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นไหม. อย่าเพียงแต่มองแค่ทักษะหรือความสามารถที่ใช้ในการทำงานในแต่ละสายอาชีพ (Hard skills) แต่ให้ดูที่โปรไฟล์บุคลิกภาพ,  การเข้ากันได้กับองค์กร และทักษะความสามารถเชิงสมรรถนะ (Soft skills) ที่บริษัทนั้นๆตามหาอยู่ด้วย เพื่อดูว่าคุณเหมาะสมกับองค์กรหรือไม่ 
  • ส่วนที่อธิบายบริษัทเบื้องต้น: อ่านและทำความเข้าใจพันธกิจและวิสัยทัศน์ของบริษัท อุตสาหกรรมที่บริษัททำงานอยู่ รวมถึงค่านิยมของบริษัท บริษัทมักจะระบุไว้ในส่วนหัว (Header) ของคำอธิบายงานที่เป็นข้อบ่งชี้ว่าบริษัทกำลังมองหาผู้สมัครประเภทใดอยู่ 
  • ผังองค์กรและความสัมพันธ์ในการทำงาน: ทำความเข้าใจว่าคุณจะรีพอร์ทต่อใคร(ใครจะเป็นหัวหน้าคุณในอนาคต) คำอธิบายงานที่ดีมักจะกล่าวถึงแผนกที่คุณจะต้องทำงานด้วยและจะเป็นข้อบ่งชี้ถึงลำดับชั้นในองค์กรที่คุณสมัครและตำแหน่งของคุณที่สมัครในองค์กร 
  • รายได้ที่พึงได้รับ(ค่าตอบแทน)และสวัสดิการ: ตรวจสอบว่าช่วงรายได้ที่พึงได้รับที่ประกาศไว้ตรงกับทักษะและระดับความเชี่ยวชาญปัจจุบันของคุณหรือไม่ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าความรับผิดชอบของงานที่สมัครไว้สูงกว่าที่คุณมีอยู่ในปัจจุบัน และค่าตอบแทนที่พึงได้รับเหมาะสมกับความรับผิดชอบนั้นๆ 
  • การพัฒนาในสานงานอาชีพ: มองหาในสิ่งที่ช่วยพัฒนาสกิลต่างๆของคุณในคำอธิบายงานที่คุณสมัคร สิ่งนี้จะช่วยให้คุณมองเห็นอนาคตของตัวเองในบริษัทที่คุณสมัครไปได้ 

ข้อสรุป: 

  • เช็ค/ตรวจสอบประสบการณ์และทักษะสำคัญที่งานที่คุณสมัครนั้นตามหาและเน้นสิ่งเหล่านั้นเป็นพิเศษ 
  • จดบันทึกประสบการณ์และทักษะของคุณที่ตรงกับที่ระบุไว้ในคำอธิบายงานที่คุณสมัครเพื่อช่วยให้คุณสามารถอธิบายได้ดีขึ้นว่าทำไมคุณถึงเป็นผู้สมัครที่เหมาะสมสำหรับงานนี้ 

 คุณอาจต้องการเน้นในส่วนของงานที่ทำให้คุณสนใจเกี่ยวกับงานที่คุณสมัครเพื่อเป็นแรงจูงใจหลักทำให้คุณมีแรงในการเตรียมตัวสัมภาษณ์งาน! 

ค้นคว้าเกี่ยวกับองค์กรและพนักงานของบริษัทที่คุณสมัคร 

 ขั้นตอนแรกในการที่จะย้ายงาน เราแนะนำให้ดูที่พันธกิจขององค์กร อุตสาหกรรมของบริษัท และที่สำคัญที่สุดคือวิธีที่องค์กรปฏิบัติต่อพนักงานซึ่งสามารถดูได้จากช่องทางต่างๆของบริษัทออนไลน์ 

 สิ่งที่คุณควรมองหาในเว็บไซต์ของบริษัทและส่วนสายงานอาชีพในเว็บไซต์ (ถ้ามี) 

  • หน้าเกี่ยวกับเรา(เกี่ยวกับบริษัท): ดูหน้าเกี่ยวกับเราเพื่อจะเรียนรู้ข้อมูลกับบริษัทเพิ่มเติม และอะไรคือวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และวัฒนธรรมของบริษัทเพื่อให้เข้าใจค่านิยมของบริษัท 
  • ผลิตภัณฑ์และบริการ: ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าและบริการของบริษัท ลองลิสลูกค้าอย่างน้อย 3 รายเพื่อให้เข้าใจข้อมูลในส่วนของการรับรอง ผลิตภัณฑ์ และบริการที่เกี่ยวข้องกับบริษัทให้มากขึ้น 
  • ข่าวสารและข่าวประชาสัมพันธ์: เราสามารถเรียนรู้ว่ามีความสำเร็จหรือเหตุการณ์สำคัญใดๆ ของบริษัทจากข่าวที่เกี่ยวกับธุรกิจ กิจกรรมภายใน การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ฯลฯ ลองเรียนรู้เหตุการณ์สำคัญอย่างน้อย 2 เหตุการณ์เกี่ยวกับบริษัท 
  • กลุ่มผู้บริหาร: ทำความเข้าใจโครงสร้างภายในของบริษัทโดยวิเคราะห์จากกลุ่มผู้บริหารบริษัท คุณสามารถประวัติของผู้ก่อตั้งเพื่อทำความเข้าใจความเชี่ยวชาญหลักของทีมผู้บริหารระดับสูงได้ รวมถึงเราสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมใน Annual Report ของบริษัทหากบริษัทนั้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ได้อีกด้วย 

Look at the company on social media ดูข้อมูลบริษัทบนโซเชียลมีเดีย 

·      LinkedIn และ Facebook: ตรวจสอบข้อมูลของบริษัทในสื่อโซเชียลมีเดีย และวิธีการสื่อสารกับลูกค้าและพนักงานตัวอย่างเช่นใน LinkedIn และ Facebook เป็นต้น 

จุดสำคัญ: ตรวจสอบว่าใครจะเป็นหัวหน้า/ผู้จัดการในอนาคตของคุณ ประวัติของเขา/เธอ และจุดร่วมระหว่างคุณและเขา/เธออาจมาจากโรงเรียนเดียวกัน บริษัทเดิมเดียวกัน อุตสาหกรรมเดิมเดียวกัน หรือมีความสนใจและค่านิยมเดียวกัน จดบันทึกความสนใจร่วมกันที่คุณอาจมีกับหัวหน้า/ผู้จัดการในอนาคตของคุณ คุณอาจใช้สิ่งเหล่านี้เป็นหนึ่งในหัวข้อที่คุยกันระหว่างการสัมภาษณ์งาน 

·      ในบล็อกบริษัทและหนังสือพิมพ์: ทำความเข้าใจมุมมองของบริษัทที่เกี่ยวกับแนวโน้มของอุตสาหกรรมและใช้เนื้อหาในส่วนนี้เพื่อเสริมความคิดเห็นของคุณเองเกี่ยวกับอุตสาหกรรมและกิจกรรมของบริษัท 

·      รีวิวและคะแนนบน Glassdoor: ดูที่ เว็บไซต์ Glassdoor เพื่อทราบว่าอดีตพนักงานและพนักงานปัจจุบันพูดถึงบริษัทที่คุณสมัครอย่างไร สิ่งนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจวัฒนธรรมของบริษัทและว่าการทำงานที่นั่นเป็นอย่างไร 

เตรียมพร้อมสำหรับคำถามสัมภาษณ์ที่พบบ่อยที่สุด 

 คุณไม่สามารถคาดเดาคำถามทั้งหมดที่จะถูกถามระหว่างการสัมภาษณ์ได้ แต่มีคำถามที่พบบ่อยมากที่ถูกถามในขั้นตอนการสัมภาษณ์ซึ่งสามารถเตรียมตัวก่อนได้ 

 เริ่มต้นด้วยสมมติฐานนี้: ผู้จัดการส่วนใหญ่ไม่ได้เตรียมพร้อมที่จะนำการสัมภาษณ์ที่มีประสิทธิภาพ คำถามที่ถามผู้สมัครมักเป็นคำถามทั่วไปเนื่องจากการขาดการเตรียมตัวนี้ หน้าที่ของคุณคือการนำเสนอคำตอบที่มีเหตุผลสนับสนุนการสมัครงานของคุณ

นี่คือคำถามที่พบบ่อยที่สุดที่คุณควรเตรียมพร้อม:

1. คุณช่วยแนะนำตัวเองได้ไหม? 

การสัมภาษณ์ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นด้วยคำถามนี้ เป้าหมายของคุณคือการตอบให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้เป็นจุดประทับใจแรกที่ทำให้การสัมภาษณ์คำถามต่อไปเป็นไปได้อย่างลื่นไหล 

เมื่อใดก็ตามที่ อย่าพูดแนะนำตัวเองเกิน 3 นาที นำเสนอตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นประสบการณ์สำคัญของคุณอย่างสั้นและกระชับ 

โดยใช้วิธีการต่อไปนี้: 

  • ชื่อของคุณและคุณมาจากไหน 
  • พื้นฐานการศึกษาของคุณ (พูดสั้นๆ)
  • อะไรทำให้คุณตัดสินใจทำสายงานอาชีพในอดีตและปัจจุบันของคุณ (เน้นแรงจูงใจของคุณ) 
  • ระบุความรับผิดชอบหลักของงานก่อนหน้าของคุณ (3 จุดสำคัญสูงสุด + 1 ความสำเร็จ)! 
  • จบด้วยเหตุผลที่ทำไมคุณสมัครงานนี้ และแรงจูงใจในการสมัครงานของคุณ!

การปิดท้ายการแนะนำตัวเป็นสิ่งสำคัญมาก เป้าหมายของคุณคือทำให้ผู้สัมภาษณ์รู้สึกว่าการสมัครของคุณสำหรับตำแหน่งนี้มีเหตุผลและเหมาะสมที่ผ่านการคิดมาอย่างดีแล้ว 

2. ทำไมคุณถึงสมัครที่นี่? 

ผู้จัดการที่สัมภาษณ์ต้องการรู้ว่าคุณทำการบ้านและค้นหาเกี่ยวกับบริษัทและงานที่คุณกำลังสมัครหรือไม่ 

นอกจากนี้ พวกเขาต้องการรู้ว่าคุณสามารถแสดงระดับความกระตือรือร้นในตำแหน่งงานที่สมัครหรือไม่ การมีความกระตือรือร้นแสดงให้เห็นว่าคุณมีความคิดแบบมุ่งมั่นและเป็นหนึ่งในจุดสำคัญในการตัดสินใจของกรรมการในการสัมภาษณ์ 

ในการตอบคำถามนี้ คุณอาจเน้นสิ่งที่คุณชื่นชมมากที่สุดเกี่ยวกับบริษัทจากความเข้าใจของคุณ อาจเป็นคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ หรือวัฒนธรรมบริษัทที่เป็นเอกลักษณ์ หากคุณพูดถึงค่านิยมหลักของบริษัท ให้อธิบายว่าสิ่งเหล่านั้นมีความหมายอย่างไร และอธิบายว่าวัฒนธรรมของบริษัทจะช่วยให้คุณได้อย่างไรบ้าง 

จุดสำคัญ: นี่คือเวลาที่คุณควรนำเสนอจุดเด่นของตัวคุณที่อ้างอิงมาจากคำอธิบายงานและข้อมูลที่ได้ค้นคว้ามา  

3. ทำไมเราถึงควรจ้างคุณ? 

แม้ว่าคำถามนี้จะพบบ่อยมาก แต่ผู้สมัครหลายคนทำได้ไม่ดีในข้อนี้ ผู้จัดการหรือผู้สัมภาษณ์ต้องการรู้ว่าคุณสามารถนำเสนอตัวเองได้อย่างไรและทดสอบทักษะที่เกี่ยวข้องกับงานที่คุณได้สมัครไป เช่น ทดสอบสกิลการขายหากคุณสมัครในงานที่เกี่ยวข้องกับงานขาย 

วิธีที่ดีที่สุดในการตอบคำถามนี้คือโยงคำตอบที่คุณคิดกับคำอธิบายงาน/รายละเอียดงานที่สมัครไป โดยใช้ตัวอย่างและสิ่งที่เคยทำในอดีตมาอธิบายในส่วนนี้ ตัวอย่างเช่น ถ้าในคำอธิบายงานอยากได้คนที่มีสกิลการขายได้ดี ให้ยกตัวอย่างประสบการณ์และความสำเร็จในด้านการขายในอดีต 

นอกเหนือจากนี้ คุณควรเพิ่มจุดเด่น เช่น ลักษณะนิสัยของคุณที่โดดเด่นและอธิบายว่ามันจะช่วยทำให้การเข้าไปของคุณประสบความสำเร็จในตำแหน่งงานที่สมัครได้ยังไง? ดังนั้นลองถามตัวเองว่า: อะไรคือคุณสมบัติเด่นของตัวเราเอง? อะไรคือคุณสมบัติที่คนสนิทของคุณใช้ในการอธิบายคุณ? 

ลักษณะนี้ควรเป็นจุดเด่นของคุณและคุณควรสามารถอธิบายรายละเอียดด้วยประสบการณ์หรือสถานการณ์จริงที่มีประสบการณ์มา 

หากคุณสามารถเล่าเรื่องสั้นๆ และน่าสนใจเกี่ยวกับลักษณะนิสัยที่โยงกับงานและน่าสนใจมากพอ คุณจะได้คะแนนมากขึ้น 

จำไว้เสมอว่า: หากคุณกล่าวถึงคุณภาพหรือลักษณะบุคลิกภาพที่คุณมี คุณควรยกตัวอย่างเสมอ เพราะจะทำให้คุณมีความไว้วางใจเพิ่มขึ้นจากผู้สัมภาษณ์ 

คำถามที่พบบ่อยอื่นๆ ที่ควรเตรียมตัว: 

  • จุดแข็งและจุดอ่อนของคุณคืออะไร? 
  • คุณรู้อะไรเกี่ยวกับบริษัทของเรา? 
  • คุณจัดการกับความเครียดภายใต้แรงกดดันอย่างไร?
  • ความคาดหวังเงินเดือนของคุณคือเท่าไร (ควรบอกเป็นตัวเลขไม่ใช่ช่วง)?
  • คุณจัดลำดับความสำคัญและจัดการงานของคุณอย่างไร? 
  • เป้าหมายอาชีพในระยะยาวของคุณคืออะไร? 
  • คุณจัดการกับความขัดแย้งหรือเพื่อนร่วมงานที่รับมือได้ยากได้อย่างไร? 
  • คุณมีคำถามใดๆ สำหรับเราเกี่ยวกับตำแหน่งที่สมัครหรือบริษัทหรือไม่? 

รู้เงินเดือนปัจจุบันและแพ็คเกจเงินเดือนที่คาดหวังของคุณ

หากยังไม่ได้พูดคุยเรื่องเงินเดือนในขั้นตอนการคัดกรองเบื้องต้น (การโทรศัพท์กับแผนก HR) คุณมีแนวโน้มสูงที่จะต้องเปิดเผยเงินเดือนปัจจุบันของคุณและ/หรือความคาดหวังเงินเดือนระหว่างการสัมภาษณ์ เพื่อประเมินว่าเงินเดือนที่เสนอไปตรงกับความคาดหวังของคุณหรือไม่ คุณควร: 

  • ศึกษาหาข้อมูล: ตรวจสอบช่วงเงินเดือนในคำอธิบายงานและตรวจสอบให้แน่ใจว่าตรงกับช่วงเงินเดือนสำหรับงานเดียวกันในอุตสาหกรรม มองหาข้อมูลเงินเดือนในเว็บไซต์หางานหรือรายงานของบริษัทวิเคราะห์เงินเดือนสำหรับบทบาท อายุงาน หรืออุตสาหกรรมเดียวกัน 
  • พิจารณาผลประโยชน์อื่นๆ เมื่อประเมินข้อเสนองาน: เงินเดือนเป็นสิ่งสำคัญ แต่ผลประโยชน์อื่นๆ เช่น วันลาประจำปี ความยืดหยุ่นในการทำงาน ตัวเลือกการทำงานระยะไกล แผนประกันสุขภาพ งบประมาณโทรศัพท์และอุปกรณ์ IT ฯลฯ ก็สามารถเพิ่มมูลค่าที่สำคัญให้กับข้อเสนอได้ 

เมื่อการสัมภาษณ์ดำเนินไปด้วยดี ผู้จัดการฝ่ายสรรหาบุคลากรหรือ HR น่าจะถามคำถามต่อไปนี้กับคุณในตอนท้ายของการสัมภาษณ์: 

  • แพ็คเกจเงินเดือนปัจจุบันของคุณคืออะไร? 
  • แพ็คเกจเงินเดือนที่คุณคาดหวังคืออะไรบ้าง? 
  • ระยะเวลาแจ้งลาออกของคุณคือเท่าไร? คุณสามารถเริ่มงานกับบริษัทได้เร็วที่สุดเมื่อไหร่? 

เมื่อการสัมภาษณ์ไม่ดำเนินไปด้วยดี ทีมสรรหาบุคลากรอาจไม่สนใจที่จะถามคำถามข้างต้น

คุณควรเตรียมคำตอบเกี่ยวกับคำถามเรื่องความคาดหวังด้านเงินเดือนและแพ็คเกจ และนี่คือเหตุผล: 

  • หากคุณให้ตัวเลขที่ไม่ถูกต้องระหว่างการสัมภาษณ์ และแก้ไขภายหลัง อาจส่งผลเสียต่อการสมัครและตัวตนของคุณ (ทีมสรรหาอาจคิดว่าคุณไม่โปร่งใสตั้งแต่แรก) 
  • หากคุณยืนยันวันเริ่มงานที่ไม่สมจริง (และอาจไม่เคารพระยะเวลาการลาออกตามกฎหมายที่ระบุในสัญญาจ้างงานปัจจุบันของคุณ) คุณอาจจะลาออกไปด้วยความสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับนายจ้างปัจจุบันของคุณหรือไม่ได้งานเพราะนายจ้ายมองว่าคุณไม่ซื่อสัตย์ 

การย้ายงานไม่ได้หมายความว่าคุณจะได้รับเงินจำนวนที่เรียกร้องไปอย่างแน่นอน ผู้สมัครบางคนเปลี่ยนไปทำงานใหม่โดยได้รับการเพิ่มเงินเดือนน้อยลง และบางคนได้รับการเพิ่มเงินเดือนมากขึ้น แม้ว่างานจะซับซ้อนกว่าก็ตาม 

การรู้เงินเดือนที่แน่นอนที่ตอนนี้คุณได้รับอยู่และความคาดหวังของคุณจะช่วยให้คุณกำหนดเงินเดือนขั้นต่ำในตำแหน่งงานที่คุณสมัครไปไม่น้อยกว่าเดิม 

ควรจะสุภาพในการสนทนาเรื่องเงินเดือน หลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นที่รุนแรงเกี่ยวกับเงินเดือนและหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าโดยตรง สิ่งนี้อาจทำลายโอกาสของคุณในการได้รับข้อเสนองาน 

เตรียมชุดของคุณในวันก่อนการสัมภาษณ์ 

เมื่อพูดถึงการสัมภาษณ์ ความประทับใจแรกมีความสำคัญ ผู้จัดการฝ่ายบุคคลตัดสินใจเกี่ยวกับผู้สมัครภายในไม่กี่นาทีแรกของการสัมภาษณ์

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้เลือกชุดที่เหมาะสมสำหรับการสัมภาษณ์ในวันก่อนหน้า การเลือกชุดล่วงหน้าจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและลดความเครียดที่เกี่ยวข้องกับการสัมภาษณ์

พิจารณาสิ่งเหล่านี้เพื่อเลือกชุดที่เหมาะสม:

  1. เลือกชุดที่เข้ากับวัฒนธรรมองค์กร: คุณควรได้ศึกษาวัฒนธรรมและระเบียบการแต่งกายของบริษัทแล้ว ใช้ข้อมูลนี้เพื่อช่วยเลือกชุดที่เหมาะสม (ในหลายบริษัท ระเบียบการแต่งตัวมาสัมภาษณ์จะถูกระบุมาในอีเมลล์นัดสัมภาษณ์) 
  2. แต่งกายสุภาพไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น: การแต่งกายแบบมืออาชีพเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยเสมอ หลีกเลี่ยงสีสันฉูดฉาดและให้ความสำคัญกับโทนสีสุภาพเช่น ขาว เทา ดำ กรมท่า และเบจ ซึ่งเข้ากับภาพลักษณ์ที่ดีของการสัมภาษณ์งาน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าชุดที่คุณเลือกสวมใส่สบายและพอดีตัว 
  3. หลีกเลี่ยงการสวมใส่ชุดลำลองมากเกินไป: ชุดที่ลำลองเกินไป เช่น เสื้อยืด กางเกงขาสั้น หรือยีนส์ จะให้ความรู้สึกว่าคุณไม่ได้ให้ความสำคัญกับการสัมภาษณ์ อย่างไรก็ตาม หากวัฒนธรรมองค์กรระบุว่าคุณสามารถแต่งตัวฟรีสไตล์มาสัมภาษณ์ได้ คุณอาจปรับตัวได้ตามความเหมาะสมและสวมชุดลำลองได้ 
  4. หลีกเลี่ยงการใส่เครื่องประดับหรืออุปกรณ์เสริมมากเกินไป: ใส่เครื่องประดับและอุปกรณ์เสริมให้น้อยที่สุด สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เสียสมาธิและดึงความสนใจของผู้สัมภาษณ์ 
  5. แต่งกายให้เหมาะสมกับตำแหน่งและอุตสาหกรรม: พิจารณาตำแหน่งที่คุณกำลังสัมภาษณ์และแต่งกายให้เหมาะสม ตัวอย่างเช่น หากคุณสัมภาษณ์สำหรับตำแหน่งที่ต้องพบปะลูกค้า คุณอาจต้องการสวมใส่ชุดที่เป็นทางการมากกว่าการสัมภาษณ์สำหรับตำแหน่งที่ทำงานในตำแหน่งเบื้องหลัง หากคุณสัมภาษณ์งานในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (ครีเอทีฟ) คุณอาจแต่งกายได้ฟรีสไตล์มากขึ้น ในขณะที่หากคุณสัมภาษณ์งานในด้านการเงิน คุณน่าจะต้องแต่งกายแบบเรียบร้อยสุภาพมากกว่า 

นอกเหนือจากชุดที่ใส่แล้ว ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลักษณะโดยรวมของคุณเรียบร้อย ลักษณะโดยรวมของคุณจะแสดงให้เห็นว่าคุณใส่ใจในรายละเอียดและสามารถเป็นตัวแทนของบริษัทได้อย่างเป็นมืออาชีพ

สรุปก่อนการสัมภาษณ์ 

คุณพร้อมแล้วสำหรับการสัมภาษณ์! เราแนะนำให้จดข้อมูลสำคัญไว้ในโทรศัพท์หรือกระดาษ ซึ่งควรประกอบด้วย:

  • ความรับผิดชอบหลักของงาน
  • ทักษะและประสบการณ์สำคัญของคุณที่เกี่ยวข้องกับงานและแรงจูงใจสำหรับตำแหน่งนี้ 
  • ข้อมูลหลักและค่านิยมหลักของบริษัท 
  • ประเด็นสำคัญสำหรับคำถามทั่วไป

Related resources (2)

💼 เตรียมตัวสัมภาษณ์งานอย่างมืออาชีพ: เทคนิคและทักษะการสัมภาษณ์ เพื่อพิชิตทุกคำถาม 🤩
💼 เตรียมตัวสัมภาษณ์งานอย่างมืออาชีพ: เทคนิคและทักษะการสัมภาษณ์ เพื่อพิชิตทุกคำถาม 🤩

เตรียมตัวสัมภาษณ์งานด้วยเทคนิคสัมภาษณ์ขั้นเทพ! พร้อมรับมือคำถามสำคัญ เช่น จุดแข็ง-จุดอ่อน และควรถามอะไรบ้าง เพิ่มความมั่นใจและสร้างความประทับใจให้ HR

เรียนรู้เพิ่มเติม
ประเทศที่ง่ายที่สุดสำหรับคนไทยในการย้ายไปทำงานที่ต่างประเทศ
ประเทศที่ง่ายที่สุดสำหรับคนไทยในการย้ายไปทำงานที่ต่างประเทศ

ถ้าคุณเป็นคนไทยแล้วอยากย้ายไปทำงานที่ต่างประเทศ ประเทศไหนที่คนไทยมีโอกาสย้ายไปได้ง่ายที่สุด

เรียนรู้เพิ่มเติม