ATS (Applicant Tracking System) คืออะไร

ATS (Applicant Tracking System) คืออะไร

ระบบ ATS คืออะไร

ระบบติดตามผู้สมัคร (Applicant Tracking System หรือ ATS) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในฝ่ายทรัพยากรบุคลเพื่อทำให้การรับสมัครพนักงานใหม่ง่ายและเป็นระบบยิ่งขึ้น เครื่องมือนี้จะทำให้ขั้นตอนต่างๆ เช่น การเก็บรวบรวมผู้สมัคร, การจัดระเบียบและกรองคุณสมบัติผู้สมัคร, การติดตามขั้นตอนการสมัครงาน, ไปจนถึงการ onboarding ให้สามารถทำได้สะดวกสบายและเป็นระบบยิ่งขึ้น ระบบ ATS นี้จะช่วยให้ชาว HR สามารถจัดการข้อมูลของผู้สมัครอย่างมีประสิทธิภาพ ติดตามความคืบหน้าของพวกเขา รวมถึงการประสานงานกับคนอื่นๆ ในทีมรีครูทเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

a-focused-young-asian-female-marketing-assistant-i-2023-11-27-05-27-00-utc.jpg 50.44 KB

ประโยชน์ของระบบ ATS

การนำระบบ ATS มาใช้สามารถช่วยลดภาระงานในการ recruit คนได้อย่างมหาศาล นี่คือตัวอย่างประโยชน์ของการใช้ระบบ ATS:

  • ทำให้กระบวนการจ้างงานรันได้อย่างอัตโนมัติ: ระบบ ATS ช่วยส่งผู้สมัครจากหน้าประกาศหางานถูกส่งเข้าไปจัดระเบียบตามข้อมูลในใบเรซูเม่ได้อัตโนมัติ เพื่อลดความภาระในการจัดระเบียบผู้สมัครด้วยตัวเอง
  • การคัดเลือกผู้สมัครที่ตรงเป้ายิ่งขึ้น: ระบบ ATS มาพร้อมกับคุณสมบัติเช่นการแยกวิเคราะห์เรซูเม่และการตรวจจับคำที่แสดงถึงทักษะและประสบการณ์ ทำให้ HR สามารถกรองหาและคัดเลือกผู้สมัครได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
  • การประสานงานกับทีมได้อย่างลื่นไหล: ระบบ ATS สามารถทำให้การสื่อสารและการประสานงานระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นไปอย่างราบรื่น เช่น ให้ส่งอีเมลอัพเดทอัตโนมัติ การนัดตารางสัมภาษณ์ และการอัพเดตสถานะ เพื่อให้ทุกฝ่ายทราบและมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการจ้างงาน
  • รวบรวมข้อมูลผู้สมัครไว้ในที่เดียว: การรวมข้อมูลของผู้สมัครไว้ในระบบเดียวจะช่วยให้ง่ายต่อการเข้าถึงและติดตามความคืบหน้าของผู้สมัคร นอกจากนี้ยังสามารถสร้างฐานข้อมูลผู้สมัคร (talent pool) ที่ใช้งานในอนาคตได้อีกด้วย
  • การตัดสินใจแบบ Data-driven: ระบบ ATS ช่วยวิเคราะห์เกี่ยวกับการจ้างงาน เช่น เวลาที่ใช้ในการจ้าง (time-to-fill) และประสิทธิภาพของการรับสมัคร (source effectiveness) ช่วยให้ชาว HR สามารถมองเห็นภาพรวม, สินใจโดยใช้ข้อมูล, และสร้างกลยุทธ์การจ้างงานได้อย่างเป็นระบบ

ตัวอย่างว่าระบบ ATS จะช่วยฝ่ายทรัพยากรบุคคลได้อย่างไร

เพื่อให้เห็นตัวอย่างว่า ATS มีข้อดีอย่างไร เราจะใช้กรณีตัวอย่างจากการรับสมัครวิศวกรฝ่ายผลิต (Production Engineer) ในโรงงาน 

หากไม่มี ATS พนักงานฝ่ายบุคคลจะใช้เวลาหลายชั่วโมงในการคัดเลือกเรซูเม่จำนวนมากด้วยมือและกำหนดตารางสัมภาษณ์เองแบบไม่มีตัวช่วย แต่หากใช้ระบบ ATS ระบบจะไม่เพียงแต่ทำการแยกวิเคราะห์เรซูเม่และคัดเลือกผู้สมัครโดยอัตโนมัติ แต่ยังช่วยประสานขั้นตอนระหว่างฝ่ายบุคคล, ผู้จัดการ, และผู้สมัครได้อย่างรวดเร็ว ประโยชน์ของ ATS อีกประการคือ การรวบรวมข้อมูลของผู้สมัครไว้ในแพลตฟอร์มเดียวยังช่วยให้ง่ายต่อการเข้าถึงและติดตามความคืบหน้าของผู้สมัครทำให้ง่ายต่อการประสานงานและประเมินความคืบหน้า นอกจากนี้ ATS ยังช่วยให้ทีมงานด้านบุคคลสามารถตัดสินใจในการจ้างได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำได้มากขึ้นด้วยตัวกรองผู้สมัคร

businessman-and-engineers-talking-in-the-factory-2023-11-27-05-37-10-utc.jpg 120.7 KB

ข้อสรุป

โดยสรุปแล้ว ระบบติดตามผู้สมัคร (Applicant Tracking System) เป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้กระบวนจ้างงานของชาว HR นั้นทันสมัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้องค์กรปลดล็อคศักยภาพการจัดหาบุคลากรได้ด้วยระบบอัตโนมัติและข้อมูลเชิงสถิติ นอกจากนี้ยังทำให้ขั้นตอนการคัดเลือกผู้สมัครและการจ้างงานนั้นรวดเร็ว ทำให้เพิ่มการสื่อสารภายในทีมรีครูตและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หากใครสนใจระบบ ATS ที่ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพแล้วล่ะก็ ทาง Huneety ก็มีให้ท่านได้ทดลองใช้กันฟรีๆ เพียงสมัครเข้ามาสร้างบัญชีกับเรา กดปุ่มด้านล่างเพื่ออ่านรายละเอียดผลิตภัณฑ์ได้เลย!











 
 

Related articles (6)

วิธีเขียนโฆษณางานที่ได้ผลในปี 2023
วิธีเขียนโฆษณางานที่ได้ผลในปี 2023

หมดยุคที่โฆษณารับสมัครงานจะเขียนขึ้นโดยยากลำบากแล้ว นี่คือวิธีสร้างโฆษณางานที่มีประสิทธิภาพในยุคนี้

เรียนรู้เพิ่มเติม
Career Guide: วิศวกรการผลิต (Production Engineer) คืออะไร? เนื้องาน, การเติบโต, คำถามสัมภาษณ์และตัวอย่างคำตอบ
Career Guide: วิศวกรการผลิต (Production Engineer) คืออะไร? เนื้องาน, การเติบโต, คำถามสัมภาษณ์และตัวอย่างคำตอบ

A Production Engineer is a specialist in optimizing production processes across industries. They develop and implement production plan

เรียนรู้เพิ่มเติม
เขียนประกาศรับสมัครงานอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดการแบ่งแยก (Discrimination)
เขียนประกาศรับสมัครงานอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดการแบ่งแยก (Discrimination)

หน้าที่หลักของประกาศรับสมัครงานคือประกาศรับสมัครงานในตำแหน่งที่ว่างอยู่และต้องดึงความสนใจของผู้สมัครมาให้ได้

เรียนรู้เพิ่มเติม
Career Guide: วิศวกรเครื่องกล (Mechanical Engineer) คืออะไร? เนื้องาน, การเติบโต, คำถามสัมภาษณ์และตัวอย่างคำตอบ
Career Guide: วิศวกรเครื่องกล (Mechanical Engineer) คืออะไร? เนื้องาน, การเติบโต, คำถามสัมภาษณ์และตัวอย่างคำตอบ

A Mechanical Engineer is a professional who designs, develops, and tests mechanical systems and components. They use their expertise in engineering pr

เรียนรู้เพิ่มเติม
การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง คืออะไร?
การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง คืออะไร?

การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นวิธีการสัมภาษณ์ที่มีการถามคำถามอย่างเป็นระบบเพื่อสอบถามผู้สมัครเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการสัมภาษณ์

เรียนรู้เพิ่มเติม
การสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง
การสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง

เรียนรู้เพิ่มเติม