MBTI แต่ละแบบเหมาะกับอาชีพอะไร พร้อมวิธีประสบความสำเร็จ

MBTI แต่ละแบบเหมาะกับอาชีพอะไร พร้อมวิธีประสบความสำเร็จ

บุคลิกภาพของคนเรานั้นแตกต่างกันออกไป บางคนเข้าสังคม บางคนเก็บตัว บางคนเป็นระเบียบ บางคนยืดหยุ่น แต่รู้หรือไม่ว่า บุคลิกภาพที่ต่างกัน มีผลต่อศักยภาพในการทำงาน นอกจากนี้ยังมีอาชีพ ตำแหน่งงาน และแนวทางพัฒนาศักยภาพ ที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพแต่ละแบบ การชี้วัดว่าแต่ละคนมีบุคลิกภาพแบบไหน จึงต้องใช้ แบบทดสอบ MBTI ที่แบ่งบุคลิกภาพเป็น 16 แบบ


MBTI คืออะไร ?

MBTI หรือ Myers-Briggs Type Indicator คือแบบทดสอบบุคลิกภาพ ซึ่งผู้ทดสอบประเมินด้วยตัวเองจากการตอบคำถาม ผลลัพธ์จะออกมาเป็นบุคลิกภาพ 1 ใน 16 แบบ ที่นิยามด้วย ตัวอักษร 4 ตัว จากทั้งหมด 8 ตัว เช่น ENFP, ISTJ, INTJ

MBTI คิดค้นขึ้นโดย Katharine Cook Briggs และลูกสาว คือ Isabel Briggs Myers ซึ่งทั้งสองคนได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือ Psychological Types ที่เขียนโดย Carl Jung นักจิตวิทยาชาวสวิส

แบบทดสอบ MBTI ใช้ตัวอักษรเพื่อนิยามบุคลิกภาพของแต่ละคน ทั้งหมด 8 ตัว แบ่งเป็น 4 คู่ ซึ่งผู้ทำแบบทดสอบ จะได้ผลลัพธ์เป็นตัวอักษร 1 ตัว จากในแต่ละด้าน ได้แก่ 

• ด้านทัศนคติ: E - Extraversion (เข้าสังคม ชอบพบปะ) vs I - Introversion (ชอบอยู่คนเดียว ชอบฟังมากกว่าพูด)

• ด้านการรับรู้ : S - Sensing (รับรู้ด้วยประสาทสัมผัส) vs N - INtuition (รับรู้ด้วยสัญชาตญาณ)

• ด้านการตัดสินใจ: T - Thinking (มีความเป็นเหตุผล ใช้ตรรกะ) vs F - Feeling (ใช้ความรู้สึก มีความอ่อนไหว)

• ด้านการใช้ชีวิต: J - Judgment (เป็นระเบียบ เคร่งครัด จัดแจง) vs P - Perception ( ยืดหยุ่น เปิดรับสิ่งใหม่ๆ)



ตัวอักษรของ MBTI แต่ละตัว หมายถึงอะไร ?

ตัวอักษรที่ใช้นิยามบุคลิกภาพของ แบบทดสอบ MBTI แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่


ด้านทัศนคติ คือ E และ I หรือ Extraversion และ Introversion

- E : Extraversion ➤ เข้าสังคม ชอบพบปะ สังสรรค์ ชอบทำกิจกรรม ช่างพูดคุย เข้ากับผู้อื่นง่าย

- I : Introversion ➤ เก็บตัว ชอบอยู่คนเดียว โลกส่วนตัวสูง เงียบขรึม ชอบฟังมากกว่าพูด


ด้านการรับรู้ คือ S และ N หรือ Sensing และ INtuition

- S : Sensing ➤ รับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 อยู่กับปัจจุบัน อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่เพ้อฝัน

- N : INtuition ➤ รับรู้ด้วยสัญชาตญาณ มีจินตนาการสูง มองภาพกว้าง มองการณ์ไกล คาดเดาอนาคต


ด้านการตัดสินใจ คือ T และ F หรือ Thinking และ Feeling

- T : Thinking ➤ ใช้ความคิด มีความเป็นเหตุผล ใช้ตรรกะ มีหลักการ

- F : Feeling ➤ ใช้ความรู้สึก มีความสงสาร เห็นอกเห็นใจผู้อื่น อ่อนไหว


ด้านการใช้ชีวิต คือ J และ P หรือ Judgment และ Perception

- J : Judgment ➤ เป็นระเบียบ ทำตามแบบแผนที่วางไว้ เข้มงวด เคร่งครัด จัดแจง

- P : Perception ➤ ยืดหยุ่น ปรับตัวตามสถานการณ์ ไม่ยึดติด เปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ


ผู้ทำ แบบทดสอบ MBTI จะได้ผลลัพธ์เป็นตัวอักษร 1 ตัว จากในแต่ละด้าน รวมกันเป็นชุดตัวอักษร 4 ตัว ของบุคลิกภาพ 16 แบบ เช่น ENFP, ISTJ, ESTP และ INFJ เป็นต้น


ทำแบบทดสอบ MBTI

คุณสามารถรู้ว่าบุคลิกภาพของคุณเป็นแบบไหน จากทั้งหมด 16 แบบ ผ่านการทำ แบบทดสอบ MBTI ซึ่งเว็บไซต์ที่เป็นที่นิยม และมีคำถามของแบบทดสอบเป็นภาษาไทยคือเว็บไซต์ https://www.16personalities.com/th 

เมื่อคุณรู้บุคลิกภาพของคุณแล้ว คุณก็จะเข้าใจความถนัด กับลักษณะของตัวคุณเอง และผู้อื่นมากขึ้น รวมทั้งเข้าใจศักยภาพในการทำงาน อาชีพ และตำแหน่งงานที่เหมาะสมของแต่ละบุคลิกภาพ ซึ่งคุณสามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจของตัวคุณเองได้ในอนาคต


บุคลิกภาพ 16 แบบ มีอะไรบ้าง ?

แบบทดสอบ MBTI แบ่งนิยามเป็น บุคลิกภาพ 16 แบบ ซึ่งสามารถจัดหมวดหมู่เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ นักวิเคราะห์, นักการทูต, ผู้พิทักษ์ปกป้อง (ผู้เฝ้ายาม) และ นักสำรวจ


อาชีพที่เหมาะสมกับบุคลิกภาพ MBTI แต่ละแบบและแนวทางพัฒนาศักยภาพ


บุคลิกภาพกลุ่มนักวิเคราะห์ (Analyst)

คือ ผู้ทำ แบบทดสอบ MBTI แล้วได้ผลลัพธ์เป็นตัวอักษร N และ T ได้แก่


INTJ นักออกแบบ (Architect) - อาชีพที่เหมาะกับ INTJ

INTJ.png 82.94 KB

ลักษณะ : ช่างจินตนาการ ทะเยอทะยาน มีความคิดสร้างสรรค์ ช่างสังเกต ขี้สงสัย รอบคอบ เรียนรู้ไว รับฟังความคิดเห็น มั่นใจในตัวเอง ตัดสินใจได้ดี

อาชีพสำหรับ INTJ : สถาปนิก, วิศวกร, โปรแกรมเมอร์, นักวิทยาศาสตร์, นักคณิตศาสตร์, นักกลยุทธ์การตลาด, ผู้ตรวจสอบบัญชี, นักเศรษฐศาสตร์, ครู, อาจารย์มหาวิทยาลัย, ฯลฯ

แนวทางพัฒนาศักยภาพ : ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ INTJ อาจดูเหมือนเย็นชา และห่างเหิน เมื่อกำลังมุ่งความสนใจไปกับงานที่อยู่ตรงหน้า จนอาจละเลยที่จะรับรู้ และชื่นชม การมีส่วนร่วมของผู้อื่น

ดังนั้น ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ INTJ ต้องให้ความสำคัญกับการหยุดพัก หรือผ่อนคลาย รวมถึงควรที่จะรับฟังความคิดเห็น ให้ความสำคัญต่อความต้องการของผู้อื่น และขอบคุณ ชื่นชม หรือให้กำลังใจผู้อื่นที่มีส่วนร่วมต่องาน ให้มากยิ่งขึ้น

Keyword : rest, relax, listen, consider others’ needs, appreciate, encourage


INTP นักตรรกะ (Logician) - อาชีพที่เหมาะกับ INTP

INTP.png 69.54 KB

ลักษณะ : ช่างสังเกต มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบวิเคราะห์​ ชอบจับผิด ชอบความเป็นแบบแผน แก้ปัญหาได้ดี มีเป้าหมายชัดเจน ระมัดระวังตัวสูง 

อาชีพสำหรับ INTP : นักตรรกวิทยา, นักวิจัย, นักวิทยาศาสตร์, นักคณิตศาสตร์, นักชีววิทยา, นักเคมี, นักชีวเคมี, นักกฎหมาย, ครู, อาจารย์มหาวิทยาลัย, ฯลฯ

แนวทางพัฒนาศักยภาพ : ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ INTP อาจประสบปัญหาเมื่อทำงานเป็นทีม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำงานร่วมกับคนที่ดูไร้เหตุผล หรือ ไม่ให้ความสำคัญกับงานอย่างเพียงพอ รวมถึงอาจไม่มีแนวทางที่ชัดเจน และมองข้ามข้อเท็จจริงที่สำคัญ กับรายละเอียดที่เป็นประโยชน์ 

ดังนั้น ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ INTP ต้องพยายามเข้าใจว่า แต่ละคนมีมุมมองที่ต่างกัน และพยายามมอบหมายงานให้ผู้อื่น รวมถึงสำรวจรายละเอียดและข้อเท็จจริงต่าง ๆ อย่างรอบคอบ

Keyword : accept differences, delegate, cautious


 ENTJ ผู้บัญชาการ (Commander) - อาชีพที่เหมาะกับ ENTJ

ENTJ.png 66.82 KB


ลักษณะ : มีความเป็นผู้นำ มั่นใจในตัวเอง​ เด็ดเดี่ยว ตัดสินใจได้ดี รอบคอบ มีกลยุทธ์ มีพลังงานสูง กระตือรือร้น 

อาชีพสำหรับ ENTJ : ผู้บริหาร, นักลงทุน, โบรกเกอร์, นายหน้า, นักการเมือง, นักกฎหมาย, ผู้พิพากษา, นักบิน, นักแสดง, ผู้สื่อข่าว, นักดาราศาสตร์, โปรแกรมเมอร์, ฯลฯ

แนวทางพัฒนาศักยภาพ : ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ ENTJ อาจมองข้ามการมีส่วนร่วมของผู้อื่น และละเลยที่จะพิจารณาความต้องการของคนที่นำแผนของตนไปปฏิบัติ เพราะผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบนี้ผลักดันตัวเองอย่างหนัก จึงเสี่ยงที่จะผลักดันผู้อื่นอย่างหนัก และทำให้ผู้อื่นหวาดกลัวจากทัศนคติที่ชอบควบคุม

ดังนั้น ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ ENTJ จึงควรที่จะรับฟังความคิดเห็น และให้ความสำคัญต่อความต้องการของผู้อื่น ให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงต้องเข้าใจว่า ศักยภาพของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน

Keyword : listen, consider others’ needs, accept differences


ENTP นักโต้วาที (Debater)  - อาชีพที่เหมาะกับ ENTP

ENTP.png 52.36 KB


ลักษณะ : มีไหวพริบ มีเสน่ห์ ช่างสังเกต ชอบถกเกียง ชอบวิจารณ์ ชอบเปรียบเทียบ ตรงไปตรงมา เรียนรู้ไว พูดเก่ง โน้มน้าวใจเก่ง

อาชีพสำหรับ ENTP : นักประชาสัมพันธ์, นักเขียนคำโฆษณา, ตัวแทนฝ่ายขาย, นักการทูต, ทนายความ, โปรดิวเซอร์, ช่างภาพ, นักให้คำปรึกษา, นักวิจัย, นักแสดง, นักดาราศาสตร์, โปรแกรมเมอร์, ครู, อาจารย์มหาวิทยาลัย, ฯลฯ

แนวทางพัฒนาศักยภาพ : ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ ENTP บางครั้งอาจหลีกเลี่ยงการตัดสินใจ และตื่นเต้นกับแนวคิดที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ เนื่องจากข้อจำกัดด้านเวลาหรือทรัพยากร รวมถึงอาจท้าทายผู้อื่น และแนวคิดของผู้อื่นมากจนเกินไป

ดังนั้น ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ ENTP ต้องไม่กลัวที่จะตัดสินใจ แม้ว่าการตัดสินใจนั้น อาจไม่ได้รับการยอมรับ หรือไม่ถูกนำไปปฏิบัติ ก็ไม่เป็นไร แต่อย่าลืมว่า ต้องพิจารณาข้อจำกัดต่าง ๆ อย่างรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจ รวมถึงต้องเข้าใจว่า แต่ละคนมีมุมมอง และแนวคิดที่ต่างกัน

Keyword : decisive, cautious, accept differences


บุคลิกภาพกลุ่มนักการทูต (Diplomat)

คือ ผู้ทำ แบบทดสอบ MBTI แล้วได้ผลลัพธ์เป็นตัวอักษร N และ F ได้แก่


INFJ ผู้สนับสนุน (Advocate) - อาชีพที่เหมาะกับ INFJ

INFJ.png 105.06 KB


ลักษณะ : เห็นใจผู้อื่น ชอบช่วยเหลือ แน่วแน่ มุ่งมั่น เด็ดขาด คาดหวังสูง ซื่อสัตย์ ชัดเจน ตรงไปตรงมา

อาชีพสำหรับ INFJ : จิตแพทย์, นักจิตวิทยา, นักสังคมสงเคราะห์, นักให้คำปรึกษา, แพทย์, ทันตแพทย์, ศิลปิน, นักดนตรี, นักเขียน, บรรณารักษ์, ฯลฯ

แนวทางพัฒนาศักยภาพ : ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ INFJ อาจดูเหมือนเป็นคนที่มีความเป็นตัวของตัวเอง รักความเป็นส่วนตัว และอาจดูลึกลับสำหรับผู้อื่น รวมถึงอาจคิดโดยอยู่ภายในกรอบของตัวเอง จนทำให้เกิดเป็นวิสัยทัศน์ที่ไม่อยู่บนความเป็นจริง ซึ่งสื่อสารออกมายาก

ดังนั้น ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ INFJ จึงควรที่จะพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบคอบ และปรึกษาหารือกับผู้อื่น ให้มากยิ่งขึ้น ก่อนที่จะตัดสินใจ รวมถึงเมื่อต้องการสื่อสารอะไร ให้อธิบายให้ละเอียด และชัดเจนที่สุด

Keyword : cautious, deliberate, communicate, elaborate, clear


INFP ผู้ไกล่เกลี่ย (Mediator) - อาชีพที่เหมาะกับ INFP

INFP.png 100.64 KB

ลักษณะ : สุขุม ใจกว้าง มองโลกในแง่ดี ยืดหยุ่น รับฟังความคิดเห็น ทุ่มเท รักความยุติธรรม เจรจาเก่ง

อาชีพสำหรับ INFP : นักจิตบำบัด, นักแปล, ศิลปิน, ช่างภาพ, นักแสดง, ผู้กำกับ, บรรณารักษ์, บรรณาธิการ, นักออกแบบ, นักประวัติศาสตร์​, ผู้จัดการฝ่ายบุคคล, นักเขียนคำโฆษณา, ฯลฯ

แนวทางพัฒนาศักยภาพ : ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ INFP อาจประสบปัญหาเมื่อต้องการแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าไม่สนใจ หรือไม่มีส่วนร่วม ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบนี้จึงเสี่ยงที่จะล้มเหลวให้ผู้อื่นเห็นคุณค่าแนวคิดของตนเอง

ดังนั้น ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ INFP จึงควรที่จะเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการประชุม และถ้าจำเป็น อาจต้องเตรียมสิ่งที่ต้องการจะพูดล่วงหน้า รวมถึงเมื่อนำเสนอแนวคิดของตนเอง ต้องทำด้วยความความมั่นใจ และชัดเจน

Keyword : prepare, confident, clear


ENFJ ผู้เป็นตัวเอก (Protagonist) - อาชีพที่เหมาะกับ ENFJ

ENFJ.png 92.75 KB

ลักษณะ : มีเสน่ห์ ใจกว้าง มุ่งมั่น มีความเป็นผู้นำ เห็นใจผู้อื่น ชอบช่วยเหลือ น่าเชื่อถือ เป็นมิตร อ่อนไหว

อาชีพสำหรับ ENFJ : ตัวแทนฝ่ายขาย, ผู้จัดการฝ่ายบริการลูกค้า, ผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์, นักออกแบบ, พยาบาล, นักประชาสัมพันธ์, นักจิตวิทยา, นักสังคมสงเคราะห์, นักกิจกรรมบำบัด, นักให้คำปรึกษา, นักการทูต, นักเขียน, ฯลฯ

แนวทางพัฒนาศักยภาพ : ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ ENFJ บางครั้งอาจพูดเยอะ และอาจรู้สึกท้อแท้ หากผู้อื่นไม่ให้การตอบรับมากนัก ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบนี้คาดหวังว่า ทุกคนจะทุ่มเทให้กับงานมากเท่าที่ตนเองทำ รวมถึงจัดการต่อความขัดแย้ง และการขาดความเห็นพ้องต้องกันได้ยาก นอกจากนี้ บางครั้งอาจตัดสินใจโดยมองข้ามความจริงเชิงประจักษ์ และเหตุผลเชิงตรรกะบางอย่าง

ดังนั้น ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ ENFJ ต้องพยายามเป็นผู้ฟังที่ดี และไม่กลัวที่จะสอบถามข้อเสนอแนะ หรือคำติชม จากผู้อื่น รวมถึงต้องเข้าใจว่า ศักยภาพของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน และต้องเข้าใจว่า ความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งบางครั้งทางออกก็อาจไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนพึงพอใจ นอกจากนี้ ต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบคอบ ก่อนที่จะตัดสินใจ

Keyword : listen, seek feedback, accept differences, compromise, cautious


ENFP นักรณรงค์ (Campaigner) - อาชีพที่เหมาะกับ ENFP

ENFP.png 63.77 KB

ลักษณะ : กระตือรือร้น เข้ากับคนอื่นง่าย พูดเก่ง เจรจาเก่ง อ่อนไหว มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นมิตร 

อาชีพสำหรับ ENFP : ผู้สื่อข่าว, ผู้ประกาศข่าว, นักเขียน, นักหนังสือพิมพ์, นักการเมือง, นักลงทุน, นักลงทุน, ครู, อาจารย์มหาวิทยาลัย, นักวิทยาศาสตร์, นักจิตวิทยา, นักให้คำปรึกษา, นักสังคมศาสตร์, นักแต่งเพลง, พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน, ไกด์, ฯลฯ

แนวทางพัฒนาศักยภาพ : ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ ENFP อาจไม่สามารถดำเนินการตามการตัดสินใจ หรือโครงการจนสำเร็จ และเสี่ยงที่จะหมดไฟจากความรับผิดชอบที่มากเกินไป หรือการพยายามสำรวจทุกความเป็นไปได้ รวมถึงอาจประสบปัญหาด้านการกำหนดลำดับความสำคัญ

ดังนั้น ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ ENFP จึงควรที่จะฝึกทักษะการวางแผน และจัดการเวลา จัดลำดับความสำคัญให้กับงานต่าง ๆ อย่างเหมาะสม รวมถึงกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และวัดผลได้ หากงานที่ได้รับมอบหมายเป็นงานที่ใหญ่ ก็ควรแบ่งงานออกเป็นขั้นตอนย่อย ๆ และอาจขอความช่วยเหลือ หรือมอบหมายงานบางส่วนให้กับผู้อื่น นอกจากนี้ยังควรที่จะให้ความสำคัญกับการหยุดพัก หรือผ่อนคลาย

Keyword : time management, prioritize, set realistic goals, delegate, seek support, rest, relax


บุคลิกภาพกลุ่มผู้พิทักษ์ปกป้อง หรือ ผู้เฝ้ายาม (Sentinel)

คือ ผู้ทำ แบบทดสอบ MBTI แล้วได้ผลลัพธ์เป็นตัวอักษร S และ J ได้แก่


ISTJ นักคำนวณ (Logistician) - อาชีพที่เหมาะกับ ISTJ

ISTJ.png 35.9 KB

ลักษณะ : มีเหตุผล ใจเย็น ซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา ไม่ชอบการคาดเดา ชอบตรวจสอบข้อเท็จจริง ไม่ค่อยแสดงอารมณ์

อาชีพสำหรับ ISTJ : นักบัญชี, แพทย์, ทันตแพทย์, นักธุรกิจ, นักวิเคราะห์ธุรกิจ, นักเศรษฐศาสตร์, นักกฎหมาย, นิติกร, ทนายความ, ผู้พิพากษา, โปรแกมเมอร์, ตำรวจ, ทหาร, นักอุตุนิมวิทยา, เกษตรกร, ฯลฯ

แนวทางพัฒนาศักยภาพ : ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ ISTJ อาจยึดติดกับแนวทางปฏิบัติของตนเอง รวมถึงอาจถูกมองว่าเป็นคนแข็งกร้าว และไม่ใส่ใจผู้อื่น

ดังนั้น ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ ISTJ จึงควรที่จะรับฟังความคิดเห็น และให้ความสำคัญต่อความต้องการของผู้อื่น ให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงควรที่จะแสดงความรู้สึก และความต้องการของตัวเองให้ผู้อื่นได้รับรู้ นอกจากนี้ยังควรที่จะฝึกความยืดหยุ่น เพื่อปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

Keyword : listen, express feelings and needs, flexibility, adaptability


ISFJ ผู้พิทักษ์ (Defender) - อาชีพที่เหมาะกับ ISFJ

ISFJ.png 60.33 KB

ลักษณะ : ไว้ใจได้ มีความอดทนสูง ขยัน ทุ่มเท กระตือรือร้น ช่างสังเกต ชอบช่วยเหลือ ซื่อสัตย์ ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ไม่ค่อยแสดงอารมณ์

อาชีพสำหรับ ISFJ : ผู้จัดการ, ผู้บัญชาการทหาร, ผู้บัญชาการตำรวจ, ผู้พิพากษา, นักบัญชี, พนักงานธนาคาร, นักเศรษฐศาสตร์, นักธุรกิจ, แพทย์, พยาบาล, ช่างภาพ, ครู, ฯลฯ

แนวทางพัฒนาศักยภาพ : ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ ISFJ อาจระมัดระวังมากเกินไป และอาจไม่พิจารณาผลลัพธ์ซึ่งเป็นเหตุผลเชิงตรรกะจากการตัดสินใจของตัวเอง รวมถึงอาจขาดความกล้าแสดงออก และอาจเสี่ยงที่จะตัดสินใจตามที่ตัวเองคิดว่าจะทำให้ผู้อื่นพึงพอใจ

ดังนั้น ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ ISFJ ต้องเพิ่มความเชื่อมั่นในตัวเอง ควรที่จะแสดงความรู้สึก และความต้องการของตัวเองให้ผู้อื่นได้รับรู้ รวมถึงฝึกพูดอย่างตรงไปตรงมา กับกล้าที่จะปฏิเสธอย่างชัดเจนและสุภาพ นอกจากนี้ ต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบคอบ ก่อนที่จะตัดสินใจ

Keyword : confident, express feelings and needs, straightforward, learn to say no, cautious 


ESTJ ผู้บริหาร (Executive) - อาชีพที่เหมาะกับ ESTJ

ESTJ.png 53.99 KB

ลักษณะ : ตัดสินใจได้ดี เฉียบขาด รอบคอบ ใส่ใจรายละเอียด ใจเย็น ซื่อสัตย์ ความจำดี ยึดมั่นในหลักการ

อาชีพสำหรับ ESTJ : ผู้บริหาร, พนักงานธนาคาร, นักบัญชี, ผู้ตรวจสอบบัญชี, นายหน้า, นักลงทุน, นักวิเคราะห์ธุรกิจ, ผู้จัดการโรงแรม, นักกีฬา, นักแสดง, ผู้พิพากษา, โค้ช, ฯลฯ

แนวทางพัฒนาศักยภาพ : ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ ESTJ มีแนวโน้มที่จะมุ่งเน้นไปที่การพยายามบรรลุเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม จนอาจละเลยความคิดเห็น และความรู้สึกของผู้อื่น นอกจากนี้ สถานการณ์ที่ต้องอาศัยความสัมพันธ์อันใกล้ชิด มักจะทำให้ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบนี้รู้สึกไม่สบายใจ รวมถึงผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบนี้ยังอาจไม่ได้รวบรวมข้อมูลอย่างเพียงพอ ก่อนลงมือปฏิบัติ และเสี่ยงที่จะพลาดโอกาสใหม่ ๆ ซึ่งไม่ได้อยู่ในแผนของตัวเอง

ดังนั้น ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ ESTJ จึงควรที่จะรับฟังความคิดเห็น และให้ความสำคัญต่อความต้องการของผู้อื่น ให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงควรที่จะแสดงความรู้สึก และความต้องการของตัวเองให้ผู้อื่นได้รับรู้ นอกจากนี้ ต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบคอบ ก่อนที่จะตัดสินใจ อีกทั้งยังควรที่จะให้ความสำคัญกับการหยุดพัก หรือผ่อนคลาย

Keyword : listen, consider others’ needs, express feelings and needs, cautious, rest, relax


ESFJ ผู้ให้คำปรึกษา (Consul) - อาชีพที่เหมาะกับ ESFJ

ESFJ.png 64.26 KB

ลักษณะ : เข้าถึงง่าย เห็นใจผู้อื่น ชอบช่วยเหลือ เป็นมิตร ใส่ใจรายละเอียด รับผิดชอบสูง ซื่อสัตย์ ทุ่มเท อ่อนไหว 

อาชีพสำหรับ ESFJ : นักให้คำปรึกษา, นักจิตวิทยา, นักเวชศาสตร์ครอบครัว, พยาบาล, นักกายภาพบำบัด, ผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์, เลขานุการ, ผู้จัดการ, นักบัญชี, พนักงานธนาคาร,​ ครู, ภัณฑารักษ์, ฯลฯ

แนวทางพัฒนาศักยภาพ : ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ ESFJ อาจตัดสินใจโดยได้รับอิทธิพลมากเกินไปจากสิ่งที่คิดว่าผู้อื่นต้องการ และอาจปรับแผนเพื่อตอบสนองต่อโอกาสที่ไม่คาดคิดได้ยาก รวมถึงอาจเสี่ยงที่จะยอมรับ เคารพ และคล้อยตามผู้ที่เป็นหัวหน้ามากจนเกินไป

ดังนั้น ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ ESFJ ต้องเพิ่มความเชื่อมั่นในตัวเอง ควรที่จะแสดงความรู้สึก และความต้องการของตัวเองให้ผู้อื่นได้รับรู้ รวมถึงฝึกพูดอย่างตรงไปตรงมา กับกล้าที่จะปฏิเสธอย่างชัดเจนและสุภาพ นอกจากนี้ต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบคอบ ก่อนที่จะตัดสินใจ อีกทั้งยังควรที่จะควรเรียนรู้ที่จะเตรียมพร้อม และยอมรับการเปลี่ยนแปลง

Keyword : confident, express feelings and needs, straightforward, learn to say no, cautious, ready for change  


บุคลิกภาพกลุ่มนักสำรวจ (Explorer)

คือ ผู้ทำ แบบทดสอบ MBTI แล้วได้ผลลัพธ์เป็นตัวอักษร S และ P ได้แก่


ISTP ผู้เชี่ยวชาญ (Virtuoso) - อาชีพที่เหมาะกับ ISTP

ISTP.png 57.17 KB

ลักษณะ : แก้ปัญหาได้ดี มีเหตุผล มองโลกในแง่ดี หนักแน่น รักความยุติธรรม รักอิสระ ไม่ชอบผูกมัด ไม่ค่อยแสดงอารมณ์ 

อาชีพสำหรับ ISTP : วิศวกร, เจ้าหน้าที่เทคนิค, ช่าง, นักสถิติ, นักนิติวิทยาศาสตร์, นักธุรกิจ, นักเศรษฐศาสตร์, โปรแกรมเมอร์, ผู้พิพากษา, นิติกร, ทันตแพทย์, ฯลฯ

แนวทางพัฒนาศักยภาพ : ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ ISTP อาจเสี่ยงที่จะมุ่งเน้นไปกับสิ่งที่ต้องทำทันทีจนมองไม่เห็นภาพรวม รวมถึงอาจไม่สามารถดำเนินการตามโครงการ ที่ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นอย่างใกล้ชิดจนสำเร็จ 

ดังนั้น ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ ISTP ต้องไม่มุ่งเน้นไปที่รายละเอียดมากจนเกินไป แต่ต้องมองไปที่ภาพรวม นอกจากนี้ยังควรที่จะรับฟังความคิดเห็น และให้ความสำคัญต่อความต้องการของผู้อื่น ให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงควรที่จะแสดงความรู้สึก และความต้องการของตัวเองให้ผู้อื่นได้รับรู้ พร้อมทั้งควรที่จะฝึกทักษะการวางแผน เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันกับผู้อื่นจนสำเร็จ

Keyword : consider the big picture, listen, consider others’ needs, express feelings and needs, planning skills, collaborate


ISFP นักผจญภัย (Adventurer) - อาชีพที่เหมาะกับ ISFP

ISFP.png 70.98 KB

ลักษณะ : มีความเป็นศิลปิน มีเสน่ห์ รักสันโดษ เป็นมิตร กระตือรือร้น ปรับตัวได้ดี ไม่ยึดติดแบบแผน ชอบแข่งขัน

อาชีพสำหรับ ISFP : นักโบราณคดี, สัตวแพทย์,​ ศิลปิน, นักดนตรี, นักแต่งเพลง, ช่างภาพ, ช่างแต่งหน้า, นักออกแบบ, นักสังคมสงเคราะห์, ครู, บรรณารักษ์, ฯลฯ

แนวทางพัฒนาศักยภาพ : ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ ISFP มีแนวโน้มที่จะขาดความกล้าแสดงออก จึงอาจทำให้เป็นคนที่ไม่ค่อยมีอิทธิพลในที่ทำงาน รวมถึงอาจไม่สามารถตัดสินใจในเรื่องที่ยากได้ เนื่องจากห่วงใยผู้อื่น จนบางครั้งอาจเลื่อนการตัดสินใจออกไป โดยคาดหวังว่าโอกาสที่ดีกว่าจะมาถึง

ดังนั้น ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ ISFP ต้องเพิ่มความเชื่อมั่นในตัวเอง ควรที่จะแสดงความรู้สึก และความต้องการของตัวเองให้ผู้อื่นได้รับรู้ รวมถึงฝึกพูดอย่างตรงไปตรงมา กับกล้าที่จะปฏิเสธอย่างชัดเจนและสุภาพ นอกจากนี้ ต้องไม่กลัวที่จะตัดสินใจ แม้ว่าการตัดสินใจนั้น อาจไม่ได้รับการยอมรับ หรือไม่ถูกนำไปปฏิบัติ ก็ไม่เป็นไร

Keyword : confident, express feelings and needs, straightforward, learn to say no, cautious, decisive


ESTP ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) - อาชีพที่เหมาะกับ ESTP

ESTP.png 82.66 KB

ลักษณะ : ชอบความท้าทาย ช่างสังเกต มีไหวพริบ ความจำดี ไม่ยึดติดแบบแผน ชอบแข่งขัน พูดเก่ง เจรจาเก่ง โน้มน้าวใจเก่ง 

อาชีพสำหรับ ESTP : นักลงทุน, นายหน้า, นักแสดง, พิธีกร, ผู้ประกาศข่าว, โปรแกรมเมอร์, นักวิเคาะห์, นักสถิติ, นักบิน, นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์, นักดับเพลิง, ตำรวจ, โค้ช, บาร์เทนเดอร์, ฯลฯ

แนวทางพัฒนาศักยภาพ : ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ ESTP อาจประสบปัญหาด้านการจัดการเวลา รวมถึงอาจสูญเสียความสนใจในโครงการที่ยาวนานและซับซ้อน การมุ่งเน้นไปที่ปัญหาเฉพาะหน้ามากจนเกินไป อาจทำให้ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบนี้ละเลยปัญหาเชิงระบบในระยะยาว นอกจากนี้ ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบนี้อาจไม่สบายใจที่จะพูดคุย หรือมุ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์

ดังนั้น ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ ESTP จึงควรที่จะฝึกทักษะการวางแผน โดยเฉพาะในระยะยาว และจัดการเวลา จัดลำดับความสำคัญให้กับงานต่าง ๆ อย่างเหมาะสม รวมถึงกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และวัดผลได้ หากงานที่ได้รับมอบหมายเป็นงานที่ใหญ่ ก็ควรแบ่งงานออกเป็นขั้นตอนย่อย ๆ และอาจขอความช่วยเหลือ หรือมอบหมายงานบางส่วนให้กับผู้อื่น นอกจากนี้ยังควรที่จะรับฟังความคิดเห็น และให้ความสำคัญต่อความต้องการของผู้อื่น ให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงควรที่จะแสดงความรู้สึก และความต้องการของตัวเองให้ผู้อื่นได้รับรู้ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตัวเองกับผู้อื่น

Keyword : planning skills, time management, prioritize, set realistic goals, delegate, seek support, listen, consider others’ needs, express feelings and needs, collaborate 


ESFP ผู้มอบความบันเทิง (Entertainer) - อาชีพที่เหมาะกับ ESFP

ESFP.png 79.52 KB

ลักษณะ : สนุกสนาน เป็นมิตร ช่างสังเกต เข้ากับคนอื่นง่าย อ่อนไหว มองโลกในแง่ดี กล้าเสี่ยง

อาชีพสำหรับ ESFP : ศิลปิน, นักดนตรี, นักแต่งเพลง, นักแสดง, นักเขียน, พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน, ไกด์, ตัวแทนฝ่ายขาย, นักออกแบบ, ครู, ผู้ดูแลเด็ก, นักวางแผนการตลาด, ฯลฯ

แนวทางพัฒนาศักยภาพ : ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ ESFP บางครั้งอาจประสบปัญหาด้านการทำสิ่งต่าง ๆ ให้เสร็จทันภายในเวลาที่กำหนด และอาจไม่สามารถทำสิ่งที่เริ่มต้นไว้จนสำเร็จ ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบนี้อาจขาดสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน หรือวอกแวกง่าย

ดังนั้น ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบ ESFP จึงควรที่จะฝึกทักษะการวางแผน และจัดการเวลา จัดลำดับความสำคัญให้กับงานต่าง ๆ อย่างเหมาะสม รวมถึงกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และวัดผลได้ หากงานที่ได้รับมอบหมายเป็นงานที่ใหญ่ ก็ควรแบ่งงานออกเป็นขั้นตอนย่อย ๆ และอาจขอความช่วยเหลือ หรือมอบหมายงานบางส่วนให้กับผู้อื่น นอกจากนี้ไม่ควรทำหลายสิ่งหลายอย่างไปพร้อม ๆ กัน แต่ควรทำสิ่งต่าง ๆ ให้เสร็จไปทีละอย่าง และพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งต่าง ๆ หรือสภาพแวดล้อมที่สามารถรบกวนในขณะกำลังทำงาน หากพบว่าตัวเองกำลังถูกรบกวน ควรรีบกลับมามุ่งเน้นกับสิ่งที่ต้องทำให้เร็วที่สุด

Keyword : planning skills, time management, prioritize, set realistic goals, delegate, seek support, single-tasking, focus, concentrate 


 




 





 
 

Related articles (6)

เขียนประกาศรับสมัครงานอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดการแบ่งแยก (Discrimination)
เขียนประกาศรับสมัครงานอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดการแบ่งแยก (Discrimination)

หน้าที่หลักของประกาศรับสมัครงานคือประกาศรับสมัครงานในตำแหน่งที่ว่างอยู่และต้องดึงความสนใจของผู้สมัครมาให้ได้

เรียนรู้เพิ่มเติม
Career Guide: วิศวกรอุตสาหการ (Industrial Engineer) คืออะไร? เนื้องาน, การเติบโต, คำถามสัมภาษณ์และตัวอย่างคำตอบ
Career Guide: วิศวกรอุตสาหการ (Industrial Engineer) คืออะไร? เนื้องาน, การเติบโต, คำถามสัมภาษณ์และตัวอย่างคำตอบ

แนะนำอาชีพวิศวกรอุตสาหการ ตำแหน่งนี้ทำอะไรบ้าง ยกตัวอย่างงานในแต่ละวัน โอกาสการเติบโต ข้อมูลเงินเดือน คำถามสัมภาษณ์ ทุกอย่างในที่เดียว

เรียนรู้เพิ่มเติม
Career Guide: วิศวกรเครื่องกล (Mechanical Engineer) คืออะไร? เนื้องาน, การเติบโต, คำถามสัมภาษณ์และตัวอย่างคำตอบ
Career Guide: วิศวกรเครื่องกล (Mechanical Engineer) คืออะไร? เนื้องาน, การเติบโต, คำถามสัมภาษณ์และตัวอย่างคำตอบ

A Mechanical Engineer is a professional who designs, develops, and tests mechanical systems and components. They use their expertise in engineering pr

เรียนรู้เพิ่มเติม
มูลค่าที่แท้จริงของการหมุนเวียนพนักงาน
มูลค่าที่แท้จริงของการหมุนเวียนพนักงาน

การต่อสู้กับการหมุนเวียนพนักงาน อย่างการลาออกหรือย้ายตำแหน่งเป็นสิ่งที่ท้าทายที่ไม่มีองค์กรไหนจะสามารถนิ่งเฉยได้อีกต่อไป

เรียนรู้เพิ่มเติม
วิธีเขียนโฆษณางานที่ได้ผลในปี 2023
วิธีเขียนโฆษณางานที่ได้ผลในปี 2023

หมดยุคที่โฆษณารับสมัครงานจะเขียนขึ้นโดยยากลำบากแล้ว นี่คือวิธีสร้างโฆษณางานที่มีประสิทธิภาพในยุคนี้

เรียนรู้เพิ่มเติม
การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง คืออะไร?
การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง คืออะไร?

การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นวิธีการสัมภาษณ์ที่มีการถามคำถามอย่างเป็นระบบเพื่อสอบถามผู้สมัครเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการสัมภาษณ์

เรียนรู้เพิ่มเติม