การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง คืออะไร?

การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง คืออะไร?

การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นวิธีการสัมภาษณ์ที่ประกอบด้วยการถามคำถามอย่างเป็นระบบ วัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลของผู้สมัครให้สอดคล้องกับหัวข้อที่กำหนดไว้

การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างนั้น จะทำให้ได้ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพราะในการสัมภาษณ์นั้นจะทำให้เห็นข้อมูลด้านอื่นๆของผู้ถูกสัมภาษ์ด้วยเช่นกัน อาทิ ความรู้ด้านการตลาด สังคมศาสตร์ หรือด้านอื่นๆ ที่ผู้สมัครนั้นมี 

การสัมภาษณ์โดยทั่วไปมี 3 ประเภท:

  • การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง:

คำถามจะถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าและกำหนดไว้อย่างเป็นระบบเพื่อสอบถามผู้สมัคร โดยเน้นไปที่ข้อมูล

  • การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง:

มีการกำหนดคำถามไว้ล่วงหน้าเพียงไม่กี่ข้อเท่านั้น ทำให้มีอิสระในการสัมภาณ์มากขึ้น

  • การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง:

ไม่มีการเตรียมคำถามล่วงหน้า

การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างคืออะไร ?

การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เป็นวิธีการสัมภาษณ์ที่ประกอบด้วยการถามคำถามอย่างเป็นระบบเพื่อรวบรวมข้อมูลของผู้สมัครให้สอดคล้องกับหัวข้อที่กำหนดไว้

การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างประกอบด้วยการถามคำถามตามลำดับข้อที่กำหนดไว้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบคำตอบของผู้สมัครหลายๆคนที่ตอบคำถามในชุดเดียวกัน

การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างนั้นมีการกำหนดกรอบการสัมภาษณ์ที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดอคติและความรู้สึกในเชิงลบ 

นอกจากนี้ การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างยังใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เหมือนกันจากผู้สมัครทั้งหมด ซึ่งทำให้การเปรียบเทียบและการตัดสินใจเลือกผู้สมัครทำได้ง่ายขึ้น

ควรใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเมื่อใด 

การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างควรจะใช้เมื่อใด :

  • คุณเข้าใจรายละเอียดงานเป็นอย่างดี ซึ่งรวมถึงคำศัพท์เฉพาะและทักษะเฉพาะของสายงานนั้นๆ 
  • คุณต้องการที่จะเปรียบเทียบผู้สมัคร เพื่อหาว่าผู้สมัครคนใดเหมาะสมที่สุดสำหรับตำแหน่งนี้
  • คุณมีเวลาและทรัพยากรจำกัดในการเปรียบเทียบผู้สมัคร: คุณสามารถใช้ผลจากการสัมภาษณ์กับผู้สมัครได้โดยตรงในการเปรียบเทียบผู้สมัคร

การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างนั้นมีความตรงไปตรงมาในทั้งในด้านการถามและการวิเคราะห์ การถามคำถามสัมภาษณ์เดียวกันจะช่วยลดอคติโดยไม่รู้ตัวของสัมภาษณ์ 

การถามคำถามสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างไม่ใช่เรื่องง่าย เราจึงขอแนะนำให้ทำการตรวจสอบกลุ่มคำถามก่อนเพื่อให้ได้คำถามที่สร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ และสามารถเข้าถึงผู้สมัครได้หลากหลายมากขึ้น 

ความแตกต่างระหว่างประเภทการสัมภาษณ์

ด้านล่างนี้เป็นตารางที่แสดงลักษณะเด่นของแต่ละประเภทการสัมภาษณ์ :

< td>คำถามมีการกำหนดไว้ล่วงหน้า
การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง
มีลำดับคำถามคงที่
จำนวนคำถามคงที่
มีแนวโน้มในการถามคำถามเพิ่มเติม

การสัมภาษณ์ตามเกณฑ์ความสามารถคืออะไร

การสัมภาษณ์ตามเกณฑ์ความสามารถเป็นรูปแบบหนึ่งของการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสัมภาษณ์แบบนี้จะมีการกำหนดกฏเกณฑ์ที่ตายตัว 

เช่นเดียวกับการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสัมภาษณ์ตามเกณฑ์ความสามารถจะเน้นการตั้งคำถามเกี่ยวกับความรู้ ทักษะ ทัศนคติ พฤติกรรม และความถนัดของผู้สัมคร

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของการสัมภาษณ์ตามเกณฑ์ความสามารถที่ถูกถามบ่อยๆ:

ทักษะทางปัญญา

  • การคิดวิเคราะห์
  • ด้านการสื่อสารข้อมูล
  • ความคิดสร้างสรรค์
  • การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
  • ออกแบบความคิด
  • การแก้ปัญหา

ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

  • การทำงานร่วมกับผู้อื่นและการทำงานเป็นทีม
  • การให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่ผู้อื่น
  • การพัฒนาผู้อื่น
  • การเจรจาต่อรอง
  • การสร้างความสัมพันธ์
  • การทวงถามหนี้
  • การวิเคราะห์ทางการเงิน

ทักษะความเป็นผู้นำในตนเอง

  • ความคล่องตัว
  • การบริหารการเปลี่ยนแปลง
  • การกำหนดเป้าหมายของลูกค้า
  • การตัดสินใจ
  • การวางแผนและองค์กร
  • ความยืดหยุ่นในการทำงาน

ประโยชน์ของการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง

ผู้สมัครงานที่ได้รับคัดเลือกเพื่อเข้าทำงานนั้น ล้วนมีทักษะทั้งด้าน hard skills และ soft skills การใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจึงทำให้บริษัทได้รู้ว่าทักษะอะไรที่ผู้สมัครมี ทักษะพิเศษที่ผู้สมัครมี รวมถึงทัศนคติต่อการทำงาน ทุกสิ่งนั้นล้วนได้คำตอบมาจากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างทั้งสิ้น

ลดอคติและความรู้สึกของผู้สัมภาษณ์

การถามคำถามเดียวกันกับผู้สมัครทุกคนจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะถูกชักจูงและการใช้ความรู้สึกส่วนตัว เพราะการมีคำถามรูปแบบเดียนั้นจะลดอคติที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวและความลำเอียงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น เช่น เพศ รสนิยมทางเพศ รูปลักษณ์ภายนอก ประวัติการศึกษา หน้าตา ฯลฯ

การใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในการสรรหาบุคลากรจะช่วยให้ผู้สรรหาและผู้จัดการสายงานมีมุมมองที่ถูกต้องเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้สมัครในระหว่างกระบวนการสัมภาษณ์

สร้างความน่าเชื่อถือให้มีมากขึ้น

เนื่องจากลักษณะที่มีโครงสร้างที่ดี การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจึงน่าเชื่อถือและน่าไว้วางใจได้มากกว่าการสัมภาษณ์ประเภทอื่นๆ ผู้สมัครทุกคนจะได้รับคำถามชุดเดียวกัน ทำให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบคำตอบและตัดสินใจจ้างงานอย่างมีประสิทธิภาพ

การตัดสินใจถูกตัดสินบนพื้นฐานของข้อมูล

ข้อมูลช่วยให้คุณทราบว่าคำถามใดให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ดังนั้น ผู้สรรหาสามารถรวบรวมข้อมูลทั้งหมดของผู้สมัครและทำการวิเคราะห์ได้อย่างง่ายดาย 

ข้อมูลที่ถูกรวบรวมมาจะช่วยให้การเปรียบเทียบผู้สมัครแต่ละคนและตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและใช้งง่ายต่อการใช้งาน

ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ในการดำเนินการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง นอกจากนี้ยังง่ายต่อการนำข้อมูลต่างๆไปใช้ในทุกกระบวนการการสัมภาษณ์ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างมาตรฐานในกระบวนการคัดเลือก บริษัทอาจจะมีการใช้คำถามสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างเป็นกระบวนการคัดเลือกแรกก่อนที่จะเชิญผู้สมัครมาสัมภาษณ์งาน

ตัวอย่างคำถามสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง

Huneety ได้มีการให้บริการเกี่ยวกับแบบประเมินพฤติกรรมของผู้สมัครซึ่งจะทำให้กระบวนการสรรหาบุคลากรนั้นเป็นไปอย่างง่ายดาย นอกจากนี้แล้วยังทำให้องค์กรได้รับผู้สมัครที่มีทักษะ พฤติกรรมและวิสัยทัศน์เข้ากับองค์กรมากที่สุด  ดังนั้น Huneety จึงใช้คำถามแบบมีโครงสร้างในแบบประเมินทุกประเภทที่เรา

ต่อไปนี้คือตัวอย่างคำถามสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับทักษะ : การบริหารลูกค้า

คำถามเกี่ยวกับพฤติกรรม "ทัศนคติที่ดีต่อการแก้ปัญหา"

  • หากลูกค้าแจ้งว่าพบปัญหาทางเทคนิคที่คุณไม่ทราบคำตอบ คุณจะตอบคำถามอย่างไร และแก้ไขอย่างไร
  • ในประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา คุณเคยได้รับคำติชมจากลูกค้าหรือไม่? คุณทำอย่างไรกับความคิดเห็นนั้น
  • หากพบลูกค้าที่กวนประสาท คุณจัดการกับลูกค้าอย่างไร คุณจะใจเย็นในสถานการณ์ที่ตึงเครียดนี้ได้อย่างไร

คำถามสำหรับลักษณะการทำงาน "การแก้ปัญหาของลูกค้าภายให้ทันเวลา"

  • หากพบปัญหา คุณสามารถแก้ไขคำร้องของลูกค้าได้รวดเร็วขนาดไหน คุณแก้ปัญหาอย่างไร และผลของการแก้ไขปัญหาเป็นอย่างไร 
  • คุณจะจัดการกับสิ่งที่ไม่แน่นอนอย่างไร 
  • คุณจะแก้ไขปัญหาอย่างไรให้ทันเวลา หากพบปัญหา 

คำถามสำหรับพฤติกรรม "การเข้าใจความต้องการของลูกค้า"

  • หากพบเจอลูกค้าที่เข้าใจยาก คุณจะจัดการอย่างไร
  • หากคุณถูกถามคำถามที่คุณไม่รู้คำตอบ คุณจะทำอย่างไร 
  • คุณจะใช้คำติชมของลูกค้าให้เกิดผลดีอย่างไรกับองค์กร 
  • คุณแน่ใจได้อย่างไรว่าคุณเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง 

เกี่ยวกับ Huneety

Huneety เป็นแพลตฟอร์มการจัดหาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เชื่อมโยงผู้มีความสามารถเข้ากับโอกาสใหม่ๆ เราช่วยองค์กรต่างๆในการรับมือกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรโดยการสร้างกลุ่มผู้มีความสามารถใหม่ ๆ ที่ Huneety คุณสามารถค้นหา ประเมิน และเลือกผู้มีความสามารถที่เหมาะสมได้อย่างรวดเร็วตามทักษะ พฤติกรรม และข้อกำหนดด้านวัฒนธรรม










 
 

Related articles (6)

Career Guide: วิศวกรโยธา (Civil Engineer) คืออะไร? เนื้องาน, การเติบโต, คำถามสัมภาษณ์และตัวอย่างคำตอบ
Career Guide: วิศวกรโยธา (Civil Engineer) คืออะไร? เนื้องาน, การเติบโต, คำถามสัมภาษณ์และตัวอย่างคำตอบ

A Civil Engineer is a professional dedicated to designing, managing, and overseeing various civil engineering projects, including roads, bridges, and

เรียนรู้เพิ่มเติม
ATS (Applicant Tracking System) คืออะไร
ATS (Applicant Tracking System) คืออะไร

ระบบติดตามผู้สมัคร (Applicant Tracking System หรือ ATS) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในฝ่ายทรัพยากรบุคลเพื่อทำให้การรับสมัครพนักงานใหม่ง่ายและเป็นระบบยิ่งขึ้น

เรียนรู้เพิ่มเติม
เว็บไซต์งานที่ดีที่สุดใน ประเทศไทย
เว็บไซต์งานที่ดีที่สุดใน ประเทศไทย

เว็บไซต์งานฟรีที่ดีที่สุดในประเทศไทยสำหรับคุณคืออะไร? เราได้ทำการจัดอันดับเว็บไซต์งานฟรีที่ดีที่สุดในประเทศไทยมาไว้ในบทความนี้แล้ว!

เรียนรู้เพิ่มเติม
การสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง
การสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง

เรียนรู้เพิ่มเติม
เลือกบริษัทจัดหางานในประเทศไทยได้อย่างไร?
เลือกบริษัทจัดหางานในประเทศไทยได้อย่างไร?

แน่นอนว่ามีผู้ให้บริการในการจัดหางานจำนวนมากในประเทศไทย บทความนี้ เราจะอธิบายวิธีการเลือกบริษัทจัดหางานที่เหมาะสมในประเทศไทย

เรียนรู้เพิ่มเติม
บอร์ดงานที่ดีที่สุดในประเทศไทย - 2023
บอร์ดงานที่ดีที่สุดในประเทศไทย - 2023

ข้อความที่เจอบ่อย "บอร์ดงานฟรี" แต่ฟรีไม่จริง! ในบทความนี้ เราได้ลิสต์บอร์ดงานที่สามารถใช้ได้ฟรีๆเพื่อให้คุณเข้าถึงผู้สมัครที่มีคุณภาพในประเทศไทย

เรียนรู้เพิ่มเติม